ศุกร์. พ.ย. 22nd, 2024

    แผ่นดินหวิดและพระธาตุอุปคำ แผ่นดินหวิด บ้านปงชัยหมู่ที่ 5 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง แผ่นดินหวิดหมายความถึงภูมิประเทศที่ถูกทางน้ำหรือสายน้ำกัดเซาะเป็นร่องลึกหรือกัดเซาะจนเป็นหน้าผาซัน ทำให้แผ่นดินแยกหรือขาดออกจากกันจึงเรียกกันว่า “แผ่นดินหวิด” การกัดเซาะของน้ำตามพื้นที่ซึ่งเป็นหินชนิดต่าง ๆ ไม่สม่ำเสมอเท่ากันทำให้เกิดแงหินรูปทรงแปลกๆ เช่นเป็นแท่งคล้ายพระธาตุเจดีย์บ้าง คล้ายรูปสัตว์บ้าง จึงทำให้ขนานนามภูมิลักษณะพื้นที่ส่วนนั้นเป็น “สันหมูแม่ต้อง” เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายสุกรผมนอนอยู่ แต่ก็มีพื้นที่ที่คาดว่าไม่ถูกน้ำกัดเซาะจะพบว่า มีก้อนกรวดจำนวนมากยึดติดกันแน่นทำให้กระแสน้ำกัดเซาะไม่ได้ เช่นแผ่นดินที่แข็งระดับต่างกัน จึงทำให้พื้นที่หลายแห่งไม่ถูกกัดเซาะจนหมด กลายเป็นแก่งหินยุ่ยและหินปูน เนื่องจากบริเวณแผ่นดินหวิดมีประชากรจำนวนหนึ่งที่อพยพมาจากเมืองอื่น เช่น จังหวัดแพร่จึงทำให้เกิดเรื่องเล่าว่ากัน ผู้คนที่อพยพได้นำดินแดงที่แพงเมืองผีมาโรยไว้ที่บริเวณแผ่นดินหวิด ทำให้มีดินแดงอยู่เป็นพื้นดินชั้นบน ซึ่งมิใช่เป็นลาวาจากภูเขาไฟ นอกจากนี้กลุ่มผู้อพยพที่เป็นชาวไทยลาว ยังเชื่อว่ารูปทรงของของแท่งหินแท่งหนึ่งใกล้หน้าผามีลักษณะคล้ายพระธาตุ ทำให้เชื่อว่ามีการสร้างพระธาตุไว้นานแล้ว ในเวลาต่อมาพระธาตุได้พังทลายเพราะกระแสน้ำเซาะเหลือเพียงตันไม้ใหญ่จึงทำให้เชื่อว่าเกิดการทำบุญบูชาพระธาตุ และการจุดบั้งไฟเพื่อขอฝนให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ก่อนเข้าฤดูฝน โดยได้มีการกำหนดพิธทำบุญสรงน้ำพระธาตุขอุปคำ ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ของทุกปี โดยในช่วงนั้น ได้มีท่านครูบาแก้วเมือง ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านปงชัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ได้เล็งเห็นจุดเด่นสำคัญของหมู่บ้าน คือ แผ่นดินหวิด ซึ่งบริเวณเนินแผ่นดินหวิด จะเป็นเนินดินมีลักษณะคล้ายสุกรนอกอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า สันหมู่แม่ต้อง สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันห่างจากหมู่บ้านออกไปประมาณ 500 เมตร โดยในวันนี้พระสงฆ์และชาวบ้าน จะไปรวมตัวกันที่บริเวณแผ่นดินหวิดเพื่อทำพิธีทางศาสนาในช่วงเช้า คือ พิธีทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเทศนา ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ กิจกรรมจุดบั้งไฟขึ้นฟ้าส่วนช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมการละเล่น เช่น การรำวงย้อนยุคของชาวบ้านการชกมวยไทย